แหล่งที่อยู่อาศัยของนก
นกแต่ละชนิดต้องการสภาพนิเวศของแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งหากินที่แตกต่างกันซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมากจากวิวัฒนาการ การปรับปรุงตัวเองให้เข้ากับ
สภาพแวดล้อม
เพื่อการอยู่รอด หากจำแนกนกตามแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งหากินแล้วสามารถจำแนกออกได้ ดังนี้
1. พวกนกน้ำที่อาศัยและหากินกลางทะเล
2. พวกนกน้ำที่อาศัยและหากินในบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำ
3. นกที่อาศัยและหากินในป่า
4. นกที่อาศัยและหากินในบริเวณทุ่งโล่ง
แหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งหากินของนกส่วนใหญ่อยู่ตามป่าไม้ธรรมชาตแต่ก็มีนกหลายชนิดที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและแหล่ง หากินที่เปลี่ยนแปลงไปตามความเจริญของบ้านเมืองและการพัฒนาของ
มนุษย์โดย
อพยพมาอาศัยอยู่
ตามชานเมืองหรือแหล่งชุมชนนกแต่ละชนิดมีถิ่นที่อยู่อาศัยในธรรมชาติแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวิวัฒนาการของนกและ ความสามารถ
ในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
ที่เปลี่ยนแปลงไป
แหล่งที่อยู่อาศัยของนกมีดังนี้
ป่าไม้ (forest) นกแต่ละชนิดอาศัยและหากินอยู่ในป่าที่มีลักษณะแตกต่างกัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดป่าประเภทต่างๆ ที่สำคัญได้แก่ อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน
ลักษณะและ
คุณสมบัติของดิน และความสูงจากระดับน้ำทะเล ซึ่ง นิวัติ (2537) กล่าวว่า ป่าในประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น
2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ป่าไม่ผลัดใบหรือป่าดงดิบ
(evergreen forest) และป่าผลัดใบ (deciduous forest)
ป่าไม่ผลัดใบหรือป่าดงดิบ (evergreen forest) ป่าประเภทนี้มีอยู่ประมาณ 30% ของพื้นที่ป่าของประเทศแบ่งย่อยออกไปได้อีก 4 ชนิด
คือ
ป่่าดงดิบเขตร้อน (tropical evergreen forest) เป็นป่าที่อยู่ในเขตที่มีลมมรสุมพัดผ่านอยู่เกือบตลอดทั้งปี มีปริมาณน้ำฝนมาก ดินมีความชุ่มชื้น
อยู่ตลอดเวลา มีอยู่ทั้งในที่ราบและที่เป็นภูเขาสูง มีกระจายอยู่ทั่วไปตั้งแต่ภาคเหนือลงไปถึงภาคใต้แบ่งย่อยตามสภาพความ ชุ่มชื้นและความสูงต่ำ ของสภาพภูมิประเทศได้ดังนี้
ป่าดงดิบชื้น (tropical rain forest) ป่าชนิดนี้โดยทั่วไปเรียกว่าป่าดงดิบ มีมากที่สุดในแถบจังหวัดที่อยู่ทางฝั่งทะเลตะวันออก เช่น
ระยอง
จันทบุรี และภาคใต้ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าภาคอื่นๆ ลักษณะทั่วไปเป็นป่ารกทึบ ประกอบด้วยพรรณไม้มากมายหลายร้อยชนิด พรรณไม้ที่สำคัญในป่าชนิดนี้ เช่น
ยาง ตะเคียน
สยา ไข่เขียว กะบากขาว กะบากทอง ตีนเป็ดแดง รัก จิกเขา ขนุนนก ฯลฯ พื้นป่ามักรกทึบประกอบไปด้วยไม้พุ่ม ปาล์ม หวาย
ไม้ไผ่ เถาวัลย์
ชนิดต่างๆ ป่าชนิดนี้แทบจะกล่าวได้ว่าไม่ได้รับผลเสียหายจากไฟป่าเลย และถ้าหากป่าถูกทำลายลงจะด้วยการกระทำของมนุษย์หรือ
ภัยธรรมชาติก็ตาม พวกต้นเต้าและต้นสอยดาว
จะเข้ามาแทนที่อย่างรวดเร็ว ป่าดงดิบมีความหลากหลายของนกมากโดยมีนกเงือกเปรียบ เสมือน สัญลักษณ์
ของป่าดงดิบ นอกจากนี้ก็มีพวก นกปรอด นกขุนแผน นกจับแมลง
นกแต้วแล้ว นกกินแมลง และนกพญาปากกว้าง ฯลฯ
ป่าดงดิบแล้ง (dry evergreen forest) มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่าง ๆ ของประเทศตามที่ราบเรียบหรือตามหุบเขา มีความสูงจากระดับน้ำทะเล
ปานกลางประมาณ
300 ถึง 600 เมตร และมีน้ำฝนระหว่าง 1,000 ถึง 1,500 มิลลิเมตรต่อปี พรรณไม้ต่าง ๆ ที่ขึ้นมีอยู่หลายชนิด เช่น กะบากด
กะบากโคก ยางนาหรือยางขาว ยางแดง
ตะเคียนหิน สมพง มะค่าโมง ปออีเก้ง กัดลิ้น กระเบากลัก ข่อยหนาม กะบก ไม้พลอง ฯลฯ พืชชั้นล่างก็มีพวก
ปาล์ม หวาย ขิง และข่าต่าง ๆ แต่ปริมาณไม่ค่อยหนาแน่นนัก
และค่อนข้างเตียนโล่ง
ป่าดงดิบเขา (hill evergreen forest) เป็นป่าที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป ส่วนใหญ่อยู่บนภูเขาสูงทางภาคเหนือและบางแห่งในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ที่ทุ่งแสลงหลวงจังหวัดพิษณุโลกและเพชรบูรณ์
ป่าภูกระดึง จังหวัดเลยฯลฯ
มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000 ถึง 2,000 มิลลิเมตรต่อปี พรรณไม้ที่สำคัญในป่าชนิดนี้ได้แก่ไม้ในวงศ์ก่อ (Fagaceae)
เช่น ก่อสีเสียดหรือก่อตาควาย ก่อตาหมูน้อย
หรือก่อแพะ ก่อเดือย ก่อแป้น ก่อเลือด ก่อนก นอกจากนี้ยังมีสนสามพันปี พญามะขามป้อม พญาไม้ ขุนไม้
มณฑาป่า ทะโล้ ยมหอม กำลังเสือโคร่ง สนแผง อบเชย กำยาน
มะขามป้อมดง ฯลฯ ป่าชนิดนี้บางทีก็มีพวกสนเขาขึ้นปะปนอยู่ด้วย ส่วนไม้พื้นล่างมักเป็น
พวกเฟิร์น กล้วยไม้ดินและมอสต่าง ๆ แต่บางแห่งก็มีต้นกุหลาบป่าขึ้นอยู่ด้วย ป่าชนิดนี้มักอยู่บริเวณต้นน้ำลำธารและกำลังถูกทำลายอย่างหนักโดยเฉพาะ ทางภาคเหนือของ ประเทศไทย สำหรับนกเด่นของป่าประเภทนี้ ได้แก่ นกศิวะ นกปรอด
นกจับแมลง รวมทั้งนกเดินดง และนกจาบปีกอ่อนที่อพยพ ย้ายถิ่นเข้ามาในช่วงฤดูหนาว
ป่าสนเขา (coniferous forest) ป่าสนมีกระจายอยู่เป็นหย่อมๆ ตามภาคเหนือเช่น จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง เพชรบูรณ์ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ที่จังหวัดเลย ศรีสะเกษ สุรินทร์ และอุบลราชธานี มีอยู่ตามภูเขาและที่ราบบางแห่งที่สูงจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 200 เมตร
ขึ้นไป บางครั้งจะพบขึ้นอยู่กับป่าแดงและป่าดิบเขา ป่าสนโดยทั่วไปมันจะขึ้นอยู่ในที่ดินพื้นที่ที่ดินไม่อุดมสมบูรณ์ เช่น ตามสันเขาที่ค่อนข้าง
แห้งแล้ง ในประเทศไทยมีสนเขาอยู่ 2 ชนิดเท่านั้น คือ สนสองใบ และสนสามใบ นอกจากต้นสนเขาแล้วป่าชนิดนี้จะมีไม้พวก เหียง พลวง และพวกก่อขึ้นปะปนอยู่ พืชชั้นล่างจะมีพวกหญ้าต่าง ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดไฟไหม้อยู่เสมอ และน้ำมันจาก
เนื้อไม้สนก็เป็นเชื้อเพลิงอย่างดี ฉะนั้นป่าชนิดนี้ต้องมีการป้องกัน
ไฟป่า อย่างรัดกุมและเข้มงวด เนื่องจากป่าสนเขาเป็นป่าโปร่งที่มีพรรณไม้อยู่ไม่มากนักโดยเฉพาะไม
้ขนาดใหญ่จึงพบนกอาศัยอยู่น้อย แต่ก็เป็นถิ่นอาศัย ของนกไต่ไม้ใหญ่ นกติ๊ดใหญ่ นกปีกลายสก๊อต และนกหัวขวานหลายชนิด ฯลฯ
ป่าพรุหรือป่าบึง (swamp forest) คือป่าที่อยู่ตามที่ราบลุ่มมีน้ำขังเสมอและตามริมฝั่งทะเลที่มีโคลนเลนทั่ว ๆ ไป ที่มีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า
2,000 มิลลิเมตร
ต่อปี แบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้อีก 2 ชนิด คือ
ป่าพรุหรือป่าบึงน้ำจืด (fresh water swamp forest) ป่าประเภทนี้อยู่ถัดจากชายฝั่งทะเลเข้ามาหรือบริเวณที่ลุ่มที่มีการทับถมของซากพืชและอินทรีย์วัตถุที่ไม
่สลายตัว จะมีน้ำท่วมหรือชื้นแฉะตลอดทั้งปี ดินเป็นดินตะกอนหรือดินโคลน ป่าพรุชนิดนี้ที่ใหญ่ที่สุดอยู่ในจังหวัดนราธิวาส พรรณไม้ที่ขึ้นอยู่มี
สำโรง
จิกนม จิกนาหรือ
กระโดนน้ำ กะเบาน้ำ หงอนไก่ทะเล กันเกรา และหลาวชะโอน ฯลฯ ธรรมชาติของป่าพรุมีจุดเด่นอยู่ที่ต้นไม้จะมี
รากแขนงแผ่กว้างแข็งแรงเป็นพูพอนช่วยค้ำยันลำต้น เช่น
สะเตียว ตังหนและช้างไห้ ฯลฯ เป็นไม้เด่น รวมทั้งหลุมพี หมากแดงและกะพ้อ ปัจจุบันป่าพรุที่สมบูรณ์เหลือ อยู่เพียงแห่งเดียวที่จังหวัดนราธิวาส นกที่พบในป่าพรุเป็นนก
ในเขตซุนด้า (sundaic bird) ที่กระจายพันธุ์ขึ้น
มาจาก ประเทศมาเลเซีย นกหลายชนิดเป็นนกหายาก เช่น นกเปล้าใหญ่ นกเค้าแดง นกกินแมลงหลังฟู และเป็ดก่า ฯลฯ แต่ในป่าพรุไม่พบนก ที่อาศัยและหากินอยู่ตามพื้นดินเลย
อาทิเช่น นกกระทา และนกแต้วแล้ว นอกจากนี้ป่าพรุโต๊ะแดงยังเป็นแหล่งสร้างรังของนกตะกรุม อีกด้วย
ป่าโกงกางหรือป่าชายเลน (mangrove swamp forest) ป่าชนิดนี้จะขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่มีดินโคลนและน้ำท่วมถึง เช่น ตามฝั่งทะเล
ด้านตะวันตกตั้งแต่่จังหวัดระนองถึงจังหวัดสตูล ฝั่งอ่าวไทยตั้งแต่จังหวัดสมุทรสงครามถึงจังหวัดตราดและจากจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ไปจนถึงจังหวัดนราธิวาสเป็นป่าที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตในทะเลและมีคุณค่าต่อการรักษาสมดุลของธรรมชาติ พืชในป่าชายเลนแต่ละชนิดมีรากค้ำจุน
และรากอากาศ พรรณไม้ที่สำคัญในป่าชนิดนี้ส่วนใหญ่
อยู่ในวงศ์ Rhizophoraceae เช่น โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ โกงกางหัวสุม นอกจากนี้
ยังมี
แสม ลำพู ลำแพน เหล่านี้เป็นต้น และมักจะขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ แยกออกเป็น
แต่ละสกุลไป ส่วนพืชชั้นล่างนั้นมีน้อย
ป่าชายเลนและป่าโกงกางเป็นป่าที่กำลังจะหมดไปจากประเทศไทยเนื่องจากการพัฒนาชายฝั่งทะเลให้เป็นแหล่งเลี้ยงกุ้งเพื่อส่งออกไปขายยังต่าง
ประเทศ
เป็นหลัก ทำให้พื้นที่ป่าชายเลนซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในท้องทะเลต้องหมดไป นกหลายชนิดที่หากิน และอาศัยอยู่ใน เฉพาะในป่าชายเลนและ
ป่าโกงกางก็ได้รับผลกระทบด้วย เช่น นกกระเต็นใหญ่ปีกสีน้ำตาล นกแต้วแล้วป่าโกงกาง นกกินเปี้ยว และนกโกงกางหัวโต นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อนกฟินฟุทและนกกระสาคอดำซึ่งอยู่ในสถานภาพกำลังจะสูญพันธุ์ ไปจาก ประเทศไทยในไม่ช้านี้
ป่าชายหาด (beach forest) เป็นป่าที่มีอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่เป็นดินกรวดทรายและโขดหิน พรรณไม้จะผิดแผกไปจากที่ถูกน้ำท่วม ถึง ถ้าชายฝั่งเป็นดินทรายก็จะมีสนทะเลขึ้นอยู่เป็นกลุ่มก้อนไม่ค่อยมีพรรณไม้อื่นปะปนเลยพืชชั้นล่างก็มีพวกตีนนกและพันธุ์ไม้เลื้อยอื่นๆ อีกบางชนิด ถ้าเป็นดินกรวดหินพรรณไม้ที่ขึ้นส่วนใหญ่ก็เป็นพวก กะทิง หูกวาง ฯลฯ
ป่าผลัดใบ (deciduous forest) ป่าผลัดใบแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
ป่าเบญจพรรณหรือป่าผสมผลัดใบ (mixed deciduous forest) ป่าชนิดนี้มีอยู่ทั่วไปในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียง
เหนือ
ส่วนทาง
ภาคใต้ไม่ปรากฏว่ามีป่าชนิดนี้อยู่เลย ป่าชนิดนี้มักจะมีต้นสักขึ้นปะปนอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะ ทางภาคเหนือและภาคกลางบางแห่ง
ส่วน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี
ป่าเบญจพรรณอยู่น้อย ลักษณะของป่าเบญจพรรณโดยทั่วไปเป็นป่าโปร่ง ประกอบด้วยต้นไม้ขนาดกลางเป็น
ส่วนใหญ่ พื้นป่า
ไม่รกทึบ มีต้นไผ่ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่มาก ในฤด
ูแล้งต้นไม้ต่างๆ จะพากันผลัดใบและมีไฟป่าอยู่ทุกปี มีพรรณไม้ขึ้นปะปนกัน หลายชนิด เช่น สัก แดง
ประดู่ มะค่าโมง ชิงชัน เก็ดแดง ตะแบก รกฟ้า ยมหิน มะเกลือ มะกอก
สมอไทย สมอพิเภก โมกมันฯลฯ พืชชั้นล่างก็มีพวกหญ้า กก ต้นไผ่ชนิดต่างๆ เช่น
ไผ่ป่า ไผ่บง ไผ่ข้าวหลาม ไผ่ซาง ไผ่รวก ไผ่ไร่ ไผ่นวล ฯลฯ ป่าเบญจพรรณเป็นป่าที่มีความสำคัญต่อนกและสัตว์ป่ามาก เพราะเป็นป่าผลัดใบที่มีความ
หลากหลาย ของพรรณพืชมาก ป่าเบญจพรรณมี
ความชุ่มชื้นมากกว่า ป่าเต็งรังมีต้นไม้ขนาดใหญ่และไม้พุ่มหนาแน่นกว่าแต่ไม่รกทึบ อย่างป่าดงดิบ จึง
เหมาะ แก่การหากินของสัตว์ป่าและ นกนานาชนิดและยังมีอาหารให้เลือกกินมากมายจึงพบนกและสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมายโดย มีพวกไก่ฟ้า นกหัวขวาน
นกโพระดก และนกเขียวก้านตองเป็นนกเด่น
ป่าแพะ ป่าแดง ป่าโคก หรือป่าเต็งรัง (deciduous dipterocarp forest) ป่าชนิดนี้มีอยู่มากทางภาคเหนือ ภาคกลางและภาค
ตะวันออก
เฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต้แถบจังหวัดจันทบุรีไม่ปรากฏว่ามีอยู่ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือนับว่ามีมาก ที่สุดคือประมาณ 70 ถึง
80% ของป่าชนิดต่าง ๆ
ที่มีอยู่ในภาคนี้ทั้งหมด ป่าชนิดนี้มีอยู่ทั่วไปทั้งที่ราบและที่เขาสูง ดินมักเป็นดินทรายและ
ดินลูกรัง ซึ่งจะมีสีค่อนข้างแดง ในบางแห่งจึงเรียกว่า ป่าแดง ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือป่าชนิดนี้ขึ้นอยู่ในพื้นที่ที่เป็นเนินที่เรียกกันว่า
โคก จึงได้ชื่อว่า ป่าโคก ลักษณะของป่าชนิดนี้ี้เป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดกลาง
ขึ้นอยู่กระจัดกระจาย พื้นป่าไม่รกทึบ มีหญ้าชนิดต่าง ๆ ขึ้นอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะหญ้าเพ็กและไผ่ชนิดต่างๆ ทุกๆ ปีจะมีไฟไหม้ป่าชนิดนี้ พรรณไม้ที่ขึ้นในป่าชนิดนี้ ได้แก่
เต็ง รัง เหียง พลวง กราด แสลงใจ มะขามป้อม พะยอมฯลฯ เนื่องจากป่าเต็งรังมีลักษณะ
เป็นป่าโปร่ง และมีความหลากหลายของพรรณไม้ น้อยจึงพบนกอาศัยอยู่น้อยกว่าป่าไม้ชนิดอื่นโดยมีพวกนกหัวขวานชนิดต่างๆ เป็นนกเด่นของป่าเต็งรัง รวมทั้งนกปีกลาย สก๊อตและนกขุนแผน นอกจากนี้ก็มีพวกนกกระจิบหญ้าและนกกระติ๊ดตาม
พงหญ้า ส่วนตามพื้นล่างมีนกกระทาทุ่งเดินหากิน
ป่าหญ้า (savanna forest) เป็นป่าที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ป่าธรรมชาติชนิดอื่น ๆ ดังกล่าวข้างต้นได้ถูกทำลายไปหมด ดินมีสภาพเสื่อมโทรม
ต้นไม้ไม่อาจขึ้นหรือเจริญเติบโตต่อไปได้ พวกหญ้าต่างๆ จึงเข้ามาแทนที่ จะพบอยู่ทั่วไปตามภาคต่างๆ ของประเทศไทย บริเวณที่ เป็นป่าร้างและไร่ร้าง หญ้าที่ขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นหญ้าคา
แฝกหอม หญ้าชันอากาศ หญ้าพงและสาบเสือ ฯลฯ อาจจะมีต้นไม้ขึ้นอยู่ห่าง ๆ กันบ้าง เช่น กระโดน กระถินป่าหรือ
กระถินพิมาน สีเสียดแก่น ประดู่ ซึ่งเป็นไม้พวกที่
ทนทานต่อไฟป่าได้ดีมาก ป่าหญ้าจัดเป็นแหล่งอาหารที่ดีของพวกสัตว์กินพืชในป่า
หาดทรายและหาดโคลน (beach and mudflat) หาดทรายคือ บริเวณชายหาดที่เป็นทรายหรือดินปนทราย พรรณไม้ที่มีอยู่บริเวณนี้ ได้แก่ สนทะเล
โพธิ์ทะเล ส่วนหาดโคลนก็คือพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่เป็นโคลนหรือโคลนปนทราย บริเวณหาดโคลนบางส่วนที่น้ำทะเลท่วมถึง แต่ไม่ตลอดเวลาทำให้มีพืช ขนาดเล็กและลำต้นเตี้ยขึ้นอยู่ได้ ในช่วงเวลาน้ำลดจะเป็นแหล่งหากินของนกชายเลนหลายชนิด หาดทรายและหาดโคลนตามชายฝั่งทะเล เป็นพื้นที่ที่มี ีความสำคัญสำหรับนกชายเลน นกอีก๋อย นกกระสา
นกยาง และนกยางทะเล นกหลายชนิดกำลังจะหมดไป เช่น นกหัวโตมลายู นกที่อพยพย้ายถิ่นมาใน
ฤดูหนาวเช่น นกซ่อมทะเลอกแดง นกหัวโตกินปูฯลฯ นอกจากนี้หาดทรายที่สงบเงียบยังเป็นแหล่งสร้างรัง วางไข่ของนกหัวโตมลายูและนางนวลแกลบเล็กด้วย แต่เนื่องจากการพัฒนาหาดทราย ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทำให้นกทั้งสองชนิดขาดแคลนสถานที่ขยายพันธุ์จนลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว และอาจสูญพันธุ์ไปในไม่ช้านี้
ป่าเกาะและทะเล (island and sea) ป่าเกาะหมายถึงป่าบนเกาะในทะเลซึ่งเป็นแหล่งพักพิง เป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งสร้างรังของพวก นกทะเล หรือ
นกที่ย้ายถิ่น ข้ามทะเล
หรือข้ามทวีป เช่น พวกนกโจรสลัด นกนางนวล และนกประจำถิ่น เช่น นกชาปีไหนและนกลุมพูขาว ฯลฯ
เขาหินปูน (limestone outcrops) ประเทศไทยมีเขาหินปูนกระจายอยู่หลายพื้นที่ทั่วประเทศ บนเขาหินปูนมีป่าผลัดใบ ที่มีพรรณไม้ ขนาดเล็กขึ้นอยู่ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของนกหลายชนิดที่หลบหนีจากการทำลายป่าในที่ราบขึ้นไปอาศัย เช่น นกจู๋เต้น
เขาหินปูน ซึ่งเป็นนกที่ ชอบอาศัยอยู่ตามเขาหินปูน นอกจากนี้ยังมีนกหลายชนิดที่อาศัยเขาหินปูนเป็นสถานที่สร้างรัง วางไข่ เช่น เหยี่ยวเพเรกริน
นกนางแอ่นผาสีคล้ำ และนกแอ่น
อีกหลายชนิด
|